Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the kirki domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /hostdata/WebhostOrg02/webipad/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
สอนอย่างไรโดยใช้ iPad – Learning with iPad

สแกนเอกสารในแอปพลิเคชันโน้ต

iOS 11 ขึ้นไป คุณสามารถสแกนเอกสารในแอปพลิเคชันโน้ตได้ คุณยังสามารถเพิ่มลายเซ็นหรือเซ็นด้วยตนเองได้เช่นกัน เมื่อใช้ iPad Pro คุณจะสามารถเพิ่มลายเซ็นหรือเซ็นเอกสารด้วย Apple Pencil ของคุณได้ หากต้องการสแกนเอกสาร: เปิดโน้ตหรือสร้างโน้ตใหม่    จากนั้นแตะสแกนเอกสาร จัดเอกสารของคุณให้อยู่ในมุมมองของกล้องบนอุปกรณ์ของคุณ หากอุปกรณ์ของคุณอยู่ในโหมดอัตโนมัติ เอกสารของคุณจะถูกสแกนโดยอัตโนมัติ หากคุณต้องการจับภาพสแกนด้วยตนเอง หรือปุ่มความดังปุ่มใดปุ่มหนึ่ง ลากมุมต่างๆ เพื่อปรับภาพสแกนให้พอดีกับหน้า จากนั้นแตะเก็บภาพสแกน คุณสามารถเพิ่มภาพสแกนเพิ่มเติมไปที่เอกสารหรือแตะ “บันทึก” เมื่อคุณทำเสร็จแล้วได้  

พนม สุวรรณประเทศ

02/12/2018

ศูนย์กำแพงเพชร : ประชุมทีมผู้สอน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการผลิตสื่อจากธรรมชาติ และนำไปสร้างนวัตกรรมด้าน IT

ศูนย์กำแพงเพชร : สิ่งที่ไดัจากการประชุมผู้สอน ส่วนที่หนึ่ง คือ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการผลิตสื่อจากธรรมชาติ เนื่องจาก ศูนย์กำแพงเพชร มีนักศึกษาที่เป็นกลุ่มชาวเขา ทีมผู้สอนควรดึงจุดเด่นในส่วนนี้ออกมา แล้วนำไปสร้างนวัตกรรมด้าน IT ใช้ประกอบการสอนใหม่ ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนต่อไป ส่วนที่สอง คือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีสำคัญ แล้วนำมาผลิตสื่อเพื่อนำเสนอจุดเด่นของตนเอง นักศึกษามีความเชี่ยวชาญด้านการผลิดสื่อ ได้เรียนรู้การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยี ผ่าน Ipad การใช้ keynote iMovie แล้วบูรณาการความรู้ผ่านงานสื่อ ทำให้เห็นประโยชนฺและคุณค่าของ ipad ที่เป็นสื่อการเรียนชิ้นสำคัญของตนเอง

วิทวัส ทองยศ

01/06/2015

เทคนิคของผู้สอน

การจัดการเรียนการสอน ของโครงการ รมป.2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  นี้ มีนวัตกรรมการสอนเกิดขึ้นหลายอย่าง สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลมทรัพย์ ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ปรับเปลี่ยนลักษณะของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้สอนแต่ละพื้นที่ โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice) แทนการพูดคุยกันใน line ปกติ  ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนด้วยเช่นกัน ถ้าจะสรุปสิ่งที่ได้จากการพูดคุยในภาคเรียนที่ผ่านมา มีเป็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายประเด็น ซึ่งได้รวบรวมมาเพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้สอนท่านอื่นๆ ต่อไป อ.ทิพสุดา คิดเลิศ นำเสนอเทคนิคการจัดการเรียนการสอนกำแพงเพชร โดยแต่ละสัปดาห์จะมีการจัดประชุมทีมผู้สอนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สอน เช่น การผลิตสื่อจากธรรมชาติ ซึ่งผู้เรียนศูนย์กำแพงเพชร มีผู้เรียนที่เป็นกลุ่มชาวเขา ทีมผู้สอนควรดึงจุดเด่นในส่วนนี้ออกมา แล้วนำไปสร้างนวัตกรรมด้านไอทีใช้ประกอบการสอนใหม่ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนต่อไป ส่วนที่สองคือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีสำคัญ แล้วนำมาผลิตสื่อเพื่อนำเสนอจุดเด่นของตนเอง ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิดสื่อ ได้เรียนรู้การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยี ผ่านไอแพด การใช้ keynote iMovie แล้วบูรณาการความรู้ผ่านงานสื่อ ทำให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของ ไอแพด ที่เป็นสื่อการเรียนชิ้นสำคัญของตนเอง ช่วงบ่าย กำแพงเพชร : […]

เอื้ออารี จันทร

01/05/2015

AirPlay …..คืออะไร

AirPlay คือ การส่งสิ่งที่ปรากฎ บนหน้าจอ iPad ไปยังจอหน้าชั้นเรียน เหมือนกับการใช้ Projector ในห้องเรียนนั้นเอง แตกต่างกันที่ไม่ต้องต่อสายที่อุปกรณ์ แน่นอนครับมันง่ายมากสำหรับที่จะต้องการให้นักศึกษา Present งานของนักศึกษาที่อยู่ใน iPad ขอยกกรณีศึกษาดังนี้ ถ้าอาจารย์กำลังสอนในห้องเรียนและต้องการให้นักศึกษาที่อยู่หลังห้อง Present งานก็สามารถให้นักศึกษาให้งาน AirPlay ที่อยู่ใน iPad ของนักศึกษาในการส่งข้อมูลจากใน iPad มาบนจอหน้าชั้นเรียนได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาต่อสายให้เสียเวลา   จากกรณีศึกษาดังกล่าว การติดตั้งเพื่อให้ใช้งาน AirPlay จะต้องประกอบได้วย iPad (ทุกรุ่น) Wi-Fi & Bluetooth Apple TV (2nd or 3rd generation) วิธีใช้งาน นำ iPad และ Apple เชื่อมต่อ Wi-Fi ที่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน เช่นอาจจะเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ชื่อ Dusit ทั้งคู่ พร้อมกับเปิด […]

สถิตย์ เชิดฉันท์

12/06/2014

Apple TV คือ ทีวีดิจิตอลหรือป่าว…..?

Apple TV  เป็นอุปกรณ์สำหรับชมภาพยนต์ รายการถ่ายทอดสดจากในแต่ละสถานี รวมถึงสามารถฟังเพลง และสามารถนำสิ่งที่แสดงอยู่บนหน้าจอ iPad ไปแสดงอยู่บน Apple TV ได้ ำหรับการจัดการเรียนการสอนในโครงการ รมป2 ได้นำ Apple TV มาใช้ในการนำสิ่งที่แสดงอยู่บนหน้าจอ iPad ของนักศึกษาไปแสดงอยู่บน Apple TV โดยจะไปปรากฎบนจอหน้าชั้นเรียน ซึ่งนั้นก็หมายถึงนักศึกษาทุกคนสามารถนำเสนองานที่อยู่ในเครื่อง iPad ของตนเองโดยผ่าน AirPlay (AirPlay คืออะไร ผมจะขอมาเขียนในบทความหน้าครับ) ดังนั้น Apple TV ไม่ใช่ ทีวีดิจิตอล ครับ

สถิตย์ เชิดฉันท์

12/03/2014

บทเรียนจากการถอดบทเรียน

“อาจารย์คะ การถอดบทเรียนคืออะไรหรือคะ?” เป็นคำถามแรกที่ผู้ดูแลเด็กหลายคนต่างถามหาคำตอบจากผม หลังจากสิ้นเสียงประกาศผ่านไมค์ในเช้าวันเสาร์ว่า “วันนี้เราจะมาถอดบทเรียนกัน” หากอธิบายกันให้เข้าใจคงต้องขออนุญาตคัดข้อเขียนของรองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง มาอธิบายว่าเป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการควมรู้ โดยเป็นกระบวนการดึงเอาความรู้จากทำงานออกมาใช้เป็นทุนในการทำงานเพื่อยกระดับให้ดียิ่งขึ้น การถอดบทเรียนเป็นการสกัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราเอง (Tacit Knowledge) หรือความรู้ฝังลึก ออกมาเป็นบทเรียนหรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ซึ่งผลของการถอดบทเรียนทำให้ได้บทเรียนในลักษณะที่เป็นรูปธรรม และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เข้าร่วมกระบวนการ นำมาซึ่งการปรับวิธีคิดและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยมีหัวใจหลักสำคัญของการถอดบทเรียน คือ การแลกเปลึ่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) อาจกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า การถอดบทเรียนในวันนี้ต้องเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเสียก่อน แล้วเราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไร? คงเป็นคำถามที่อาจตามมาทันที หน้าที่ของผู้สอนตอนนี้คือการพยายามดึงเอาความรู้ฝังลึกของผู้เรียนออกมาผ่านการตั้งคำถามหรือให้ผู้เรียนบอกเล่าสิ่งที่ดำเนินการ ปัญหา/อุปสรรค และวิธีการแก้ไขของเขา (หากไม่พบปัญหา/อุปสรรค ให้ถามด้วยว่าเพราะเหตุใดจึงไม่พบ ใช้วิธีการใด) สอบถามผู้เรียนภายในกลุ่มทีละคน ซึ่งวิธีการของผู้เรียนแต่ละคนที่ใช้แล้วได้ผลดีจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เมื่อทุกคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของตนแล้วจึงนำมาร่วมกันสรุปออกมาเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ร่วมกัน ในการถอดบทเรียนมีตัวละครสำคัญหลายตัวทำหน้าที่ร่วมกันถอดบทเรียนให้ประสบความสำเร็จ แต่ตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่จะขอกล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้  นั่นคือ คุณลิขิต หรือมือเขียนประจำกลุ่ม คุณลิขิตมีความสำคัญมากในฐานะนักจับประเด็นและจดบันทึกสิ่งที่เพื่อนสมาชิกบอกเล่า แล้วรวบรวมร้อยเรียงเนื้อความให้เติมเต็มสมบูรณ์ จึงต้องเป็นผู้ที่มีทักษะการฟังจับใจความและทักษะการเขียนดี ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการถอดบทเรียน บทเรียนจากการถอดบทเรียนในวันนี้พบว่า […]

วัชรพล วิบูลยศริน

12/03/2014

Personal Hotspot อุปสรรคในการใช้ Wi-Fi

Personal Hotspot คือการแชร์อินเทอร์เน็ตส่วนตัวให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ใช้งาน สามารถทการแชร์ได้ 2 แบบ ผ่านสาย USB และ Bluetooth & Wi-Fi โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบ Bluetooth & Wi-Fi  สรุปง่ายๆ คือการปล่อยสัญญาอินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi จากเครื่อง iPad นั้นเอง  แล้วทำไมมันถึงเป็น อุปสสรคในการใช้ Wi-Fi ? สำหรับ Wi-Fi ที่ให้บริการตามสถานที่ต่าง เช่น มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ผู้ให้บริการจะทำการติดตั้ง Wi-Fi ซึ่งลักษณะการติดตั้ง Wi-Fi จะมีการออกแบบให้ช่องสัญญาณไม่ซ้อนกัน ช่องสัญญาณในการออกแบบระบบ Wi-Fi     ดังนั้นการเปิดใช้งาน Personal Hostspot จากอุปกรณ์ iPad จะทำให้ช่องสัญญาณ Wi-Fi ไปซ้ำซ้อนกับช่องสัญญาณ Wi-Fi ตามสถานที่ที่ให้บริการ ส่งผลให้การใช้งาน Wi-Fi ได้บ้างไม่ได้บ้าง […]

สถิตย์ เชิดฉันท์

12/03/2014

3G กับ Wi-Fi

ผู้ใช้งานหลายท่านที่ใช้ iPad คงหาซื้อ iPad รุ่นที่สามารถใส่ซิมการ์ด 3G  ได้ เพื่อการใช้งานทีสะดวกโดยเฉพาะสถานที่ที่ไม่มี Wi-Fi เช่น บนรถ หรือสถานที่ภายนอกอาคาร ต่าง ๆ เป็นต้น  แน่นอนครับการใช้งานที่สะดวกสะบายไม่ได้หมายความว่าจะฟรีเสมอไป การใช้ 3G จะคิดตามอัตราการใช้งานตามจริง เช่น เปิดดู VDO ใน  YouTube มีอัตราการส่งไฟล์จำนวน 200 MB.  แต่ท่านมีโครต้าการใช้งาน 3G อยู่ที่ 1GB (1024 MB=1GB) นั้นหมายความว่า ท่านจะเหลืออัตราการใช้งาน 3G ได้แค่ 824 MB. ตามอายุการใช้งาน โดยปรกติมีอายุการใช้งานประมาณ 1 เดือน หรือ 30 วัน เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อท่านพบสัญญาณ Wi-FI ท่านควรจะเลือกใช้งาน Wi-Fi จะดีกว่าและควรจะปิด 3G ในขณะเลือกใช้ Wi-Fi […]

สถิตย์ เชิดฉันท์

12/02/2014

iTunes U เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้ iPad สำหรับ พัฒนาผู้ดูแลเด็กเพื่อเป็น “ครูผู้ดูแลเด็กมืออาชีพในศตวรรษที่ 21”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีแนวคิดที่จะพัฒนาผู้ดูแลเด็กให้เป็น “ครูผู้ดูแลเด็กมืออาชีพในศตวรรษที่ 21” ด้วยโลกแห่งการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปมากในปัจจุบัน ความรู้ไม่ได้จำกัดเพียงแต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นมหาวิทยาลัยฯ จึงปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนโดยบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ากับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน กิจกรรมการเรียนรู้จากการทำงาน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองผ่านระบบและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยใช้ iPad เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเลือกใช้ iTunes U Courseware management เป็นระบบจัดการหลักสูตรของโครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ iTunes U ในการรวมเนื้อหา บทเรียน กิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึงทรัพยากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหลักสูตร รวมถึงการกำหนดกิจกรรมการเรียน การอภิปราย การวิพากษ์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงการมอบหมายงานในแต่ละชุดวิชา และรวบรวม Collection จากต้นแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้ดูแลเด็กและสิ่งสำคัญ คือ ผู้ดูแลเด็กจะสามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาด้านอื่นๆ เพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกผ่านหลักสูตของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศผ่าน ได้อีกช่องทางหนึ่งซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ (learning to learn) และนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในอนาคต   ที่มา: เอื้ออารี จันทร. 2557. ทำไมต้องเป็น iPad. เอกสารประกอบการประชุม โครงการร่วมมือทางวิชาการ.

เอื้ออารี จันทร

12/02/2014
1 2