สอนอย่างไรโดยใช้ iPad

สแกนเอกสารในแอปพลิเคชันโน้ต

iOS 11 ขึ้นไป คุณสามารถสแกนเอกสารในแอปพลิเคชันโน้ตได้ คุณยังสามารถเพิ่มลายเซ็นหรือเซ็นด้วยตนเองได้เช่นกัน เมื่อใช้ iPad Pro คุณจะสามารถเพิ่มลายเซ็นหรือเซ็นเอกสารด้วย Apple Pencil ของคุณได้ หากต้องการสแกนเอกสาร: เปิดโน้ตหรือสร้างโน้ตใหม่    จากนั้นแตะสแกนเอกสาร จัดเอกสารของคุณให้อยู่ในมุมมองของกล้องบนอุปกรณ์ของคุณ หากอุปกรณ์ของคุณอยู่ในโหมดอัตโนมัติ เอกสารของคุณจะถูกสแกนโดยอัตโนมัติ หากคุณต้องการจับภาพสแกนด้วยตนเอง หรือปุ่มความดังปุ่มใดปุ่มหนึ่ง ลากมุมต่างๆ เพื่อปรับภาพสแกนให้พอดีกับหน้า จากนั้นแตะเก็บภาพสแกน คุณสามารถเพิ่มภาพสแกนเพิ่มเติมไปที่เอกสารหรือแตะ “บันทึก” เมื่อคุณทำเสร็จแล้วได้  

ศูนย์กำแพงเพชร : ประชุมทีมผู้สอน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการผลิตสื่อจากธรรมชาติ และนำไปสร้างนวัตกรรมด้าน IT

ศูนย์กำแพงเพชร : สิ่งที่ไดัจากการประชุมผู้สอน ส่วนที่หนึ่ง คือ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการผลิตสื่อจากธรรมชาติ เนื่องจาก ศูนย์กำแพงเพชร มีนักศึกษาที่เป็นกลุ่มชาวเขา ทีมผู้สอนควรดึงจุดเด่นในส่วนนี้ออกมา แล้วนำไปสร้างนวัตกรรมด้าน IT ใช้ประกอบการสอนใหม่ ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนต่อไป ส่วนที่สอง คือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีสำคัญ แล้วนำมาผลิตสื่อเพื่อนำเสนอจุดเด่นของตนเอง นักศึกษามีความเชี่ยวชาญด้านการผลิดสื่อ ได้เรียนรู้การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยี ผ่าน Ipad การใช้ keynote iMovie แล้วบูรณาการความรู้ผ่านงานสื่อ ทำให้เห็นประโยชนฺและคุณค่าของ ipad ที่เป็นสื่อการเรียนชิ้นสำคัญของตนเอง

เทคนิคของผู้สอน

การจัดการเรียนการสอน ของโครงการ รมป.2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  นี้ มีนวัตกรรมการสอนเกิดขึ้นหลายอย่าง สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลมทรัพย์ ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ปรับเปลี่ยนลักษณะของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้สอนแต่ละพื้นที่ โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice) แทนการพูดคุยกันใน line ปกติ  ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนด้วยเช่นกัน ถ้าจะสรุปสิ่งที่ได้จากการพูดคุยในภาคเรียนที่ผ่านมา มีเป็นที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายประเด็น ซึ่งได้รวบรวมมาเพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้สอนท่านอื่นๆ ต่อไป อ.ทิพสุดา คิดเลิศ นำเสนอเทคนิคการจัดการเรียนการสอนกำแพงเพชร โดยแต่ละสัปดาห์จะมีการจัดประชุมทีมผู้สอนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สอน เช่น การผลิตสื่อจากธรรมชาติ ซึ่งผู้เรียนศูนย์กำแพงเพชร มีผู้เรียนที่เป็นกลุ่มชาวเขา ทีมผู้สอนควรดึงจุดเด่นในส่วนนี้ออกมา แล้วนำไปสร้างนวัตกรรมด้านไอทีใช้ประกอบการสอนใหม่ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตนต่อไป ส่วนที่สองคือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีสำคัญ แล้วนำมาผลิตสื่อเพื่อนำเสนอจุดเด่นของตนเอง ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิดสื่อ ได้เรียนรู้การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยี ผ่านไอแพด การใช้ keynote iMovie แล้วบูรณาการความรู้ผ่านงานสื่อ ทำให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของ ไอแพด ที่เป็นสื่อการเรียนชิ้นสำคัญของตนเอง ช่วงบ่าย กำแพงเพชร : […]

AirPlay …..คืออะไร

AirPlay คือ การส่งสิ่งที่ปรากฎ บนหน้าจอ iPad ไปยังจอหน้าชั้นเรียน เหมือนกับการใช้ Projector ในห้องเรียนนั้นเอง แตกต่างกันที่ไม่ต้องต่อสายที่อุปกรณ์ แน่นอนครับมันง่ายมากสำหรับที่จะต้องการให้นักศึกษา Present งานของนักศึกษาที่อยู่ใน iPad ขอยกกรณีศึกษาดังนี้ ถ้าอาจารย์กำลังสอนในห้องเรียนและต้องการให้นักศึกษาที่อยู่หลังห้อง Present งานก็สามารถให้นักศึกษาให้งาน AirPlay ที่อยู่ใน iPad ของนักศึกษาในการส่งข้อมูลจากใน iPad มาบนจอหน้าชั้นเรียนได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาต่อสายให้เสียเวลา   จากกรณีศึกษาดังกล่าว การติดตั้งเพื่อให้ใช้งาน AirPlay จะต้องประกอบได้วย iPad (ทุกรุ่น) Wi-Fi & Bluetooth Apple TV (2nd or 3rd generation) วิธีใช้งาน นำ iPad และ Apple เชื่อมต่อ Wi-Fi ที่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน เช่นอาจจะเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ชื่อ Dusit ทั้งคู่ พร้อมกับเปิด […]

Apple TV คือ ทีวีดิจิตอลหรือป่าว…..?

Apple TV  เป็นอุปกรณ์สำหรับชมภาพยนต์ รายการถ่ายทอดสดจากในแต่ละสถานี รวมถึงสามารถฟังเพลง และสามารถนำสิ่งที่แสดงอยู่บนหน้าจอ iPad ไปแสดงอยู่บน Apple TV ได้ ำหรับการจัดการเรียนการสอนในโครงการ รมป2 ได้นำ Apple TV มาใช้ในการนำสิ่งที่แสดงอยู่บนหน้าจอ iPad ของนักศึกษาไปแสดงอยู่บน Apple TV โดยจะไปปรากฎบนจอหน้าชั้นเรียน ซึ่งนั้นก็หมายถึงนักศึกษาทุกคนสามารถนำเสนองานที่อยู่ในเครื่อง iPad ของตนเองโดยผ่าน AirPlay (AirPlay คืออะไร ผมจะขอมาเขียนในบทความหน้าครับ) ดังนั้น Apple TV ไม่ใช่ ทีวีดิจิตอล ครับ

บทเรียนจากการถอดบทเรียน

“อาจารย์คะ การถอดบทเรียนคืออะไรหรือคะ?” เป็นคำถามแรกที่ผู้ดูแลเด็กหลายคนต่างถามหาคำตอบจากผม หลังจากสิ้นเสียงประกาศผ่านไมค์ในเช้าวันเสาร์ว่า “วันนี้เราจะมาถอดบทเรียนกัน” หากอธิบายกันให้เข้าใจคงต้องขออนุญาตคัดข้อเขียนของรองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง มาอธิบายว่าเป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการควมรู้ โดยเป็นกระบวนการดึงเอาความรู้จากทำงานออกมาใช้เป็นทุนในการทำงานเพื่อยกระดับให้ดียิ่งขึ้น การถอดบทเรียนเป็นการสกัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราเอง (Tacit Knowledge) หรือความรู้ฝังลึก ออกมาเป็นบทเรียนหรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ซึ่งผลของการถอดบทเรียนทำให้ได้บทเรียนในลักษณะที่เป็นรูปธรรม และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เข้าร่วมกระบวนการ นำมาซึ่งการปรับวิธีคิดและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยมีหัวใจหลักสำคัญของการถอดบทเรียน คือ การแลกเปลึ่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) อาจกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า การถอดบทเรียนในวันนี้ต้องเริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเสียก่อน แล้วเราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไร? คงเป็นคำถามที่อาจตามมาทันที หน้าที่ของผู้สอนตอนนี้คือการพยายามดึงเอาความรู้ฝังลึกของผู้เรียนออกมาผ่านการตั้งคำถามหรือให้ผู้เรียนบอกเล่าสิ่งที่ดำเนินการ ปัญหา/อุปสรรค และวิธีการแก้ไขของเขา (หากไม่พบปัญหา/อุปสรรค ให้ถามด้วยว่าเพราะเหตุใดจึงไม่พบ ใช้วิธีการใด) สอบถามผู้เรียนภายในกลุ่มทีละคน ซึ่งวิธีการของผู้เรียนแต่ละคนที่ใช้แล้วได้ผลดีจะเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) เมื่อทุกคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของตนแล้วจึงนำมาร่วมกันสรุปออกมาเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ร่วมกัน ในการถอดบทเรียนมีตัวละครสำคัญหลายตัวทำหน้าที่ร่วมกันถอดบทเรียนให้ประสบความสำเร็จ แต่ตัวละครสำคัญตัวหนึ่งที่จะขอกล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้  นั่นคือ คุณลิขิต หรือมือเขียนประจำกลุ่ม คุณลิขิตมีความสำคัญมากในฐานะนักจับประเด็นและจดบันทึกสิ่งที่เพื่อนสมาชิกบอกเล่า แล้วรวบรวมร้อยเรียงเนื้อความให้เติมเต็มสมบูรณ์ จึงต้องเป็นผู้ที่มีทักษะการฟังจับใจความและทักษะการเขียนดี ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการถอดบทเรียน บทเรียนจากการถอดบทเรียนในวันนี้พบว่า […]

Personal Hotspot อุปสรรคในการใช้ Wi-Fi

Personal Hotspot คือการแชร์อินเทอร์เน็ตส่วนตัวให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ใช้งาน สามารถทการแชร์ได้ 2 แบบ ผ่านสาย USB และ Bluetooth & Wi-Fi โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบ Bluetooth & Wi-Fi  สรุปง่ายๆ คือการปล่อยสัญญาอินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi จากเครื่อง iPad นั้นเอง  แล้วทำไมมันถึงเป็น อุปสสรคในการใช้ Wi-Fi ? สำหรับ Wi-Fi ที่ให้บริการตามสถานที่ต่าง เช่น มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ผู้ให้บริการจะทำการติดตั้ง Wi-Fi ซึ่งลักษณะการติดตั้ง Wi-Fi จะมีการออกแบบให้ช่องสัญญาณไม่ซ้อนกัน ช่องสัญญาณในการออกแบบระบบ Wi-Fi     ดังนั้นการเปิดใช้งาน Personal Hostspot จากอุปกรณ์ iPad จะทำให้ช่องสัญญาณ Wi-Fi ไปซ้ำซ้อนกับช่องสัญญาณ Wi-Fi ตามสถานที่ที่ให้บริการ ส่งผลให้การใช้งาน Wi-Fi ได้บ้างไม่ได้บ้าง […]

3G กับ Wi-Fi

ผู้ใช้งานหลายท่านที่ใช้ iPad คงหาซื้อ iPad รุ่นที่สามารถใส่ซิมการ์ด 3G  ได้ เพื่อการใช้งานทีสะดวกโดยเฉพาะสถานที่ที่ไม่มี Wi-Fi เช่น บนรถ หรือสถานที่ภายนอกอาคาร ต่าง ๆ เป็นต้น  แน่นอนครับการใช้งานที่สะดวกสะบายไม่ได้หมายความว่าจะฟรีเสมอไป การใช้ 3G จะคิดตามอัตราการใช้งานตามจริง เช่น เปิดดู VDO ใน  YouTube มีอัตราการส่งไฟล์จำนวน 200 MB.  แต่ท่านมีโครต้าการใช้งาน 3G อยู่ที่ 1GB (1024 MB=1GB) นั้นหมายความว่า ท่านจะเหลืออัตราการใช้งาน 3G ได้แค่ 824 MB. ตามอายุการใช้งาน โดยปรกติมีอายุการใช้งานประมาณ 1 เดือน หรือ 30 วัน เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อท่านพบสัญญาณ Wi-FI ท่านควรจะเลือกใช้งาน Wi-Fi จะดีกว่าและควรจะปิด 3G ในขณะเลือกใช้ Wi-Fi […]

iTunes U เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้ iPad สำหรับ พัฒนาผู้ดูแลเด็กเพื่อเป็น “ครูผู้ดูแลเด็กมืออาชีพในศตวรรษที่ 21”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีแนวคิดที่จะพัฒนาผู้ดูแลเด็กให้เป็น “ครูผู้ดูแลเด็กมืออาชีพในศตวรรษที่ 21” ด้วยโลกแห่งการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปมากในปัจจุบัน ความรู้ไม่ได้จำกัดเพียงแต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นมหาวิทยาลัยฯ จึงปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนโดยบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ากับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน กิจกรรมการเรียนรู้จากการทำงาน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองผ่านระบบและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยใช้ iPad เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเลือกใช้ iTunes U Courseware management เป็นระบบจัดการหลักสูตรของโครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ iTunes U ในการรวมเนื้อหา บทเรียน กิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเข้าถึงทรัพยากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหลักสูตร รวมถึงการกำหนดกิจกรรมการเรียน การอภิปราย การวิพากษ์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงการมอบหมายงานในแต่ละชุดวิชา และรวบรวม Collection จากต้นแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้ดูแลเด็กและสิ่งสำคัญ คือ ผู้ดูแลเด็กจะสามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาด้านอื่นๆ เพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกผ่านหลักสูตของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศผ่าน ได้อีกช่องทางหนึ่งซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ (learning to learn) และนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในอนาคต   ที่มา: เอื้ออารี จันทร. 2557. ทำไมต้องเป็น iPad. เอกสารประกอบการประชุม โครงการร่วมมือทางวิชาการ.

1 2
Copyright © 2019. All rights reserved.